DataCon2024

Talk-Nabilah Said and Siti Aishah

activity Talk-Nabilah Said and Siti Aishah

Talk-Nabilah Said and Siti Aishah

09.10.2024

อีกหนึ่งทีมสปีกเกอร์ช่วง Talk ของงาน Data Con 2024 เมื่อวันที่ 5 ต.ค. ที่ผ่านมา คือ Nabilah Said และ Siti Aishah หัวหน้าบรรณาธิการและหัวหน้าทีม Front-end จาก Kontinentalist สตูดิโอออกแบบการเล่าเรื่องราวด้วยข้อมูลแห่งสิงคโปร์ ซึ่งมานำเสนอในหัวข้อ “Call to Action: Creating data stories for impact”

DSC08438.jpg

Kontinentalist เป็นบริษัทที่ทำงานด้านข้อมูลและการออกแบบจากสิงคโปร์ โดยมีเป้าหมายการทำงานอยู่ที่ทำให้คนเข้าใจเอเชียมากขึ้นผ่านข้อมูล โดยใช้ data visualisation, data storytelling งานบรรณาธิการและการออกแบบข้อมูล งานเกือบทั้งหมดเผยแพร่ใน kontinentalist.com 

งานของ Kontinentalist คือ การสร้างข้อมูลให้ทุกคนเข้าใจได้ง่ายขึ้น การเล่าเรื่องผ่านข้อมูล และการออกแบบข้อมูล ครอบคลุมหลายประเด็น เช่น เพศสภาพ ประวัติศาสตร์ ความยุติธรรมทางสังคม ไปจนถึงวัฒนธรรมในแง่มุมต่างๆ

DSC08434.jpg

Data Story มีหน้าตาอย่างไร

Data storytelling เป็นความสามารถในการสื่อสารข้อค้นพบเชิงลึกที่ได้จากข้อมูล ประกอบด้วยข้อมูล เรื่องเล่า และการทำให้เป็นภาพ (visualisations) ย่อยให้ง่ายขึ้นเพื่อทำให้ผู้รับสารมีส่วนร่วมกับเรื่องนั้น ไปจนถึงการนำไปสู่การลงมือทำเพื่อเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับตนเองอย่างไร

การเล่าเรื่องเป็นการให้บริบทของข้อมูลและทำให้ข้อมูลมีชีวิต เราพบอะไรจากข้อมูล ใครได้รับผลกระทบ ทำไมเรื่องนี้จึงสำคัญ นอกจากนี้ข้อมูลยังทำให้เรารู้สึก

งาน Abandoned at Sea: The Desperate Journeys of Rohinga Refugees ที่ Kontinentalist ร่วมกับ UNHCR นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับผู้อพยพชาวโรฮิงญาที่ต้องอพยพผ่านทางเรือออกจากเมียนมาไปยังประเทศอื่น โดยใช้ข้อมูลจากรายงานที่เป็นสถิติต่างๆ เช่น เจอเรือผู้อพยพที่ไหน ถูกจับจากเจ้าหน้าที่ชาติใด จากตัวเลขก็นำข้อมูลมาทำให้มีความหมายมากขึ้นด้วยเรื่องเล่าที่ทำให้คนอ่านเข้าใจอันตรายที่ผู้อพยพต้องเผชิญ ด้วยการใส่เรื่องเล่า พร้อมวิดีโอและคลิปเสียงประกอบ นอกจากนี้ก็ทำให้คนอ่านเห็นภาพด้วยแผนที่การเดินทาง เพื่อให้เข้าใจระยะทางและความยากลำบากของผู้อพยพตลอดเส้นทาง

การเล่าเรื่องด้วยภาพสามารถสื่อความเห็นอกเห็นใจและมีอิทธิพลต่อประสบการณ์ของผู้อ่าน หน้าที่ของเราก็คือ เรียบเรียงข้อมูลต่างๆ ให้สมเหตุสมผลและหาวิธีที่มีความหมายเพื่อสื่อสารในรูปแบบภาพ ขณะเดียวกันทุกเรื่องราวเกี่ยวกับข้อมูลต้องมีสารที่ต้องการสื่อ โดยต้องหาว่าอยากให้คนอ่านได้อะไร

สื่อสารวัฒนธรรมเอเชียผ่านข้อมูล

Kontinentalist ให้ความสนใจไปที่งานเกี่ยวกับวัฒนธรรมในเอเชีย เพราะเรื่องราวทางวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมิอง การทำงานของ Kontinentalist มุ่งไปที่ความหลากหลายและเอกลักษณ์ของแต่ละวัฒนธรรม โดยระวังไม่ให้เป็นการตีตราเหมารวมและตระหนักถึงการสร้างภาพแทนจากการนำเสนอ นอกจากเล่าเรื่องวัฒนธรรมเอเชียแล้ว การนำเสนอด้วยภาพนั้นสำคัญมาก เราพยายามใส่องค์ประกอบความเป็นเอเชียลงไปโดยตระหนักถึงเรื่องการสร้างภาพเหมารวม ตัวอย่างเช่น

A sarong's story: Reclaiming Asia’s versatile cloth ว่าด้วยโสร่ง ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายที่ใช้อย่างแพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดีไซเนอร์ก็ใช้ลายผ้าที่มาจากชาติพันธุ์และความเชื่อที่หลากหลายเพื่อสื่อให้เห็นถึงความหลากหลายของโสร่ง นอกจากนี้ ในการนำเสนอตัวอย่างแต่ละกรณี ความถูกต้องแม่นยำเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งยวด

The trends and tunes of Thai pop ซึ่งเป็นงานศึกษาดนตรีป็อบในประเทศไทย ติดตามวิวัฒนาการของดนตรีป็อปของไทย

Alternate World of Copy Songs ซึ่งพูดถึงแนวเพลงหนึ่งในเมียนมาที่ชื่อว่า Myanmar copy songs

DSC08500.jpg

ให้เจ้าของวัฒนธรรมเล่าเรื่องของตัวเอง

“วัฒนธรรมเป็นเรื่องของผู้คน เราซึ่งเป็นบริษัทคอนเทนต์ไม่อยากอ้างว่าเราเป็นผู้ค้นพบ หรือสร้างสิ่งใหม่ใหม่ให้กับผู้อ่าน วัฒนธรรมเป็นของกลุ่มคนนั้น เรามีหน้าที่ที่จะขยายเรื่องราว ผลักดันให้ชุมชนเล่าเรื่องของตัวเอง”

งานที่กำลังจะเผยแพร่เร็วๆ นี้ชื่อ Gaza Lives: Resisting Cultural Genocide ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับ Visualizing Palestine องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ใช้ข้อมูลและงานวิจัยมาสื่อสารด้วยภาพเพื่อบอกเล่าเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในฉนวนกาซ่าจากประสบการณ์ของชาวปาเลสไตน์

งานนี้เราใช้ภาพปัก Tatreez ลายปักผ้าของชาวปาเลสไตน์มานำเสนอให้เห็นความเสียหายของพื้นที่ทางวัฒนธรรมในกาซ่าจากการโจมตีของกองทัพอิสราเอล ภาพปักแต่ละภาพสื่อให้เห็นสถานที่ที่ถูกทำลายแตกต่างกัน เช่น โรงเรียน พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ

งานนี้สัมภาษณ์ชาวปาเลสไตน์ที่ทำงานด้านวัฒนธรรม 5 คน เพื่อทำให้เราเห็นกาซ่าผ่านสายตา คำพูด แผนที่ และภาพถ่ายของพวกเขา ในงานนี้เราไม่ได้ทำเพียงแค่เพิ่มข้อมูลเข้าไปในเรื่องราว แต่ออกแบบงานทั้งหมดเพื่ออุทิศให้เรื่องราวของพวกเขา เราเรียนรู้เรื่องศักดิ์ศรีและการไม่ยอมรับการถูกทำให้ลืมของชาวปาเลสไตน์ 

สำหรับคนที่อยากเล่าเรื่องราวต่างๆ อาจต้องถามตัวเองว่า ให้ความสำคัญต่อเสียงของผู้คนที่เป็นเจ้าของเรื่องเล่าที่เรานำมาเล่าต่อมากแค่ไหน และเราจะออกแบบงานอย่างไรไม่ให้เสียงของเรามีบทบาทเหนือเรื่องราวของพวกเขา

Share this article via :

TICKET RESERVATION

สำรองที่นั่งได้ตั้งแต่วันนี้

Early Bird Ticket

699

บาท

(ยังไม่รวมค่าธรรมเนียม)

ราคาพิเศษหากซื้อบัตรภายใน 31 ส.ค.นี้
จำนวนจำกัด 150 ที่นั่ง

Regular Ticket

1,200

บาท

(ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมและ VAT)

เปิดจำหน่าย 1 ก.ย.นี้
จำนวนจำกัด 250 ที่นั่ง

Keep Connected

do not hesitate to reach out to us if you have any questions or you would like to contribute to create data-driven society

contact@dataconth.com
Follow us
All rights reserved 2024 © Boonmee Lab Co.,Ltd.
Made by Boonmee Lab with UXD Template